พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490

ปรึกษาคดีอาวุธปืน โทร 091-936-2635

พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืนพ.ศ. 2490

ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์รังสิต กรมขุนชัยนาทนเรนทรพระยามานวราชเสวีให้ไว้ ณ วันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2490 เป็นปีที่ 2 ในรัชกาลปัจจุบัน

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนวัตถุระเบิด และดอกไม้เพลิงกับควบคุมสิ่งเทียมอาวุธปืน

พระมหากษัตริย์ โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา จึงมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490”

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป *รก.2490/42/556/9 กันยายน 2490

มาตรา 3 ให้ยกเลิก

(1) พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดและดอกไม้เพลิง พุทธศักราช 2477

(2) พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดและดอกไม้เพลิงแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2477

(3) พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดและดอกไม้เพลิงแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2477 (ฉบับที่ 2)

(4) พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดและดอกไม้เพลิง (ฉบับที่ 4) พุทธศักราช 2479

(5) พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดและดอกไม้เพลิง (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2484

และบรรดาบทกฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่นๆ ในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้


มาตรา 4* ในพระราชบัญญัตินี้

(1) “อาวุธปืน” หมายความรวมตลอดถึงอาวุธทุกชนิดซึ่งใช้ส่งเครื่องกระสุนปืนโดยวิธีระเบิดหรือกำลังดันของแก๊สหรืออัดลมหรือเครื่องกลไกอย่างใด ซึ่งต้องอาศัยอำนาจของพลังงานและส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธนั้น ๆ ซึ่งรัฐมนตรีเห็นว่าสำคัญและได้ระบุไว้ในกฎกระทรวง

(2) “เครื่องกระสุนปืน” หมายความรวมตลอดถึงกระสุนโดด กระสุนปราย กระสุนแตก ลูกระเบิด ตอร์ปิโด ทุ่นระเบิดและจรวด ทั้งชนิดที่มีหรือไม่มีกรดแก๊ส เชื้อเพลิง เชื้อโรค ไอพิษ หมอกหรือควัน หรือกระสุน ลูกระเบิด ตอร์ปิโด ทุ่นระเบิดและจรวด ที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน หรือเครื่อง หรือสิ่งสำหรับอัดหรือทำ หรือใช้ประกอบเครื่องกระสุนปืน

(3) “วัตถุระเบิด” คือ วัตถุที่สามารถส่งกำลังดันอย่างแรงต่อสิ่งห้อมล้อมโดยฉับพลันในเมื่อระเบิดขึ้นโดยมีสิ่งเหมาะมาทำให้เกิดกำลังดัน หรือโดยการสลายตัวของวัตถุระเบิดนั้นทำให้มีแรงทำลายหรือแรงประหาร กับหมายความรวมตลอดถึงเชื้อประทุต่าง ๆหรือวัตถุอื่นใดอันมีสภาพคล้ายคลึงกันซึ่งใช้หรือทำขึ้นเพื่อให้เกิดการระเบิด ซึ่งรัฐมนตรีจะได้ประกาศระบุไว้ในราชกิจจานุเบกษา

(4) “ดอกไม้เพลิง” หมายความรวมตลอดถึงพลุ ประทัดไฟ ประทัดลม และวัตถุอื่นใด อันมีสภาพคล้ายคลึงกัน

(5) “สิ่งเทียมอาวุธปืน” หมายความว่า สิ่งซึ่งมีรูปและลักษณะอันน่าจะทำให้หลงเชื่อว่าเป็นอาวุธปืน

(6) “มี” หมายความว่า มีกรรมสิทธิ์หรือมีไว้ในครอบครองแต่ไม่หมายความถึงการที่อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดที่มีไว้โดยชอบด้วยกฎหมายและตกอยู่ในความครอบครองของบุคคลอื่นซึ่งไม่ต้องห้ามตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัตินี้เท่าที่จำเป็นเพื่อรักษาสิ่งที่ว่านี้มิให้สูญหาย

(7) “สั่ง” หมายความว่า ให้บุคคลใดส่งหรือนำเข้ามาจากภายนอกราชอาณาจักร

(8) “นำเข้า” หมายความว่า นำเข้ามาจากภายนอกราชอาณาจักรไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ

(9) “รัฐมนตรี”หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ *บทนิยามตามมาตรา 4 (1) (2) และ (3) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2501


มาตรา 5* พระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่มาตรา 8 ทวิ มิให้ใช้บังคับแก่

(1) อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืนของ(ก) ราชการทหารและตำรวจที่มีหรือใช้ในราชการ(ข) หน่วยราชการที่มีหรือใช้เพื่อป้องกันประเทศหรือรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน(ค) หน่วยราชการหรือรัฐวิสาหกิจที่มีและใช้ในการป้องกันและรักษาทรัพย์สินอันสำคัญของรัฐ(ง) ราชการทหารและตำรวจตาม (ก) หรือหน่วยราชการตาม (ข) ที่มอบให้ประชาชนมีและใช้เพื่อช่วยเหลือราชการของทหารและตำรวจหรือของหน่วยราชการ แล้วแต่กรณี

(2) อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนประจำเรือเดินทะเล รถไฟ และอากาศยานตามปกติ ซึ่งได้แสดงและให้พนักงานศุลกากรตรวจตามกฎหมายแล้ว

(3) ดอกไม้เพลิงสัญญาณประจำเรือเดินทะเล อากาศยาน และสนามบินตามปกติ หน่วยราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามวรรคหนึ่ง (1) (ข) หรือ (ค) รวมทั้งชนิด ขนาด และการกำหนดจำนวน ตลอดจนการมีและใช้ การเก็บรักษา การพาติดตัว การซ่อมแซมหรือเปลี่ยนลักษณะ และการอย่างอื่นที่จำเป็นเพื่อการรักษาความปลอดภัยอันเกี่ยวกับอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน ที่ให้หน่วยราชการหรือรัฐวิสาหกิจดังกล่าวมีและใช้หรือมอบให้ประชาชนมีและใช้เพื่อช่วยเหลือราชการนั้นให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง *มาตรา 5 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2522

มาตรา 6* ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และให้มีอำนาจแต่งตั้งนายทะเบียนและเจ้าหน้าที่อื่นและออกกฎกระทรวงในเรื่องต่อไปนี้ คือ

(1) จำกัดชนิดและจำนวนอาวุธปืนของกระทรวงทบวงกรมอื่น นอกจากของราชการทหารและตำรวจหรือหน่วยราชการตามมาตรา 5 วรรคสอง

(2) วางระเบียบการทะเบียน การขอและการออกใบอนุญาต

(3) กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมซึ่งต้องไม่เกินอัตราในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้

(4) กิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

ในส่วนที่เกี่ยวกับการออกกฎกระทรวงตามวรรคหนึ่ง (1) ตามมาตรา 5 วรรคสอง และตามมาตรา 55 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมร่วมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยด้วย

ในส่วนที่เกี่ยวกับการศุลกากร ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย

กฎกระทรวงนั้นเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ *มาตรา 6 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2522หมวด 1อาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืน_______________ส่วนที่ 1อาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืนส่วนบุคคล_______________

มาตรา 7 ห้ามมิให้ผู้ใดทำ ซื้อ มี ใช้ สั่ง หรือนำเข้า ซึ่งอาวุธปืน หรือเครื่องกระสุนปืน เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่


มาตรา 8 ห้ามมิให้ผู้ใดมีเครื่องกระสุนปืนซึ่งมิใช่สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ตนได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้

มาตรา 8 ทวิ* ห้ามมิให้ผู้ใดพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว เว้นแต่เป็นกรณีที่ต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์

ไม่ว่ากรณีใด ห้ามมิให้พาอาวุธปืนไปโดยเปิดเผย หรือพาไปในชุมชุมชนที่ได้จัดให้มีขึ้น เพื่อนมัสการ การรื่นเริง การมหรสพ หรือการอื่นใด

ความในมาตรานี้ มิให้ใช้บังคับแก่

(1) เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทหารและตำรวจ ซึ่งอยู่ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่

(2) ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามมาตรา 5 วรรคหนึ่ง (1) (ข) หรือ (ค) ซึ่งอยู่ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่เพื่อการป้องกันประเทศหรือรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือรักษาทรัพย์สินอันสำคัญของรัฐ

(3) ประชาชนผู้ได้รับมอบให้มีและใช้ตามมาตรา 5 วรรคหนึ่ง (1) (ง) ซึ่งอยู่ในระหว่างการช่วยเหลือราชการและมีเหตุจำเป็นต้องมี และใช้อาวุธปืนในการนั้น *มาตรา 8 ทวิ เพิ่มความโดยคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 44 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ส่วนความในวรรคสามแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2522

มาตรา 9 ใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืนให้ออกให้แก่บุคคลสำหรับใช้ในการป้องกันตัวหรือทรัพย์สิน หรือในการกีฬาหรือยิงสัตว์

ใบอนุญาตนั้นให้ออกสำหรับอาวุธปืนแต่ละกระบอก

มาตรา 10 อาวุธปืนที่ได้ออกใบอนุญาตให้ตามมาตราก่อน ให้นายทะเบียนทำเครื่องหมายประจำอาวุธปืนนั้นไว้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 11 ใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนไว้เพื่อเก็บให้ออกได้สำหรับอาวุธปืนที่นายทะเบียนเห็นว่าชำรุดจนใช้ยิงไม่ได้หรืออาวุธปืนแบบพ้นสมัย หรืออาวุธปืนซึ่งได้รับเป็นรางวัลจากการแข่งขันยิงปืนในทางราชการ

มาตรา 12 อาวุธปืนซึ่งได้รับอนุญาตให้มีไว้เพื่อเก็บนั้น ห้ามมิให้ยิงและห้ามมิให้มีเครื่องกระสุนปืนไว้สำหรับอาวุธปืนนั้น

มาตรา 13 ห้ามมิให้ออกใบอนุญาตตามความในหมวดนี้แก่

(1) บุคคลซึ่งต้องโทษจำคุกสำหรับความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญาดังต่อไปนี้(ก) มาตรา 97 ถึงมาตรา 111 มาตรา 120 มาตรา 177 ถึงมาตรา 183 มาตรา 249 มาตรา 250 หรือมาตรา 293 ถึงมาตรา 303(ข) มาตรา 254 ถึงมาตรา 257 และพ้นโทษยังไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันพ้นโทษถึงวันยื่นคำขอใบอนุญาต เว้นแต่ในกรณีความผิดที่กระทำโดยความจำเป็นหรือเพื่อป้องกันหรือโดยถูกยั่วโทสะ

(2) บุคคลซึ่งต้องโทษจำคุกสำหรับความผิดอันเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด และดอกไม้เพลิง พุทธศักราช 2477 มาตรา 11 มาตรา 22 มาตรา 29 หรือมาตรา 33 หรือพระราชบัญญัตินี้ มาตรา 7 มตรา 24 มาตรา 33 หรือมาตรา 38

(3) บุคคลซึ่งต้องโทษจำคุกตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปในระหว่างห้าปีนับย้อนขึ้นไปจากวันที่ยื่นคำขอ สำหรับความผิดอย่างอื่นนอกจากที่บัญญัติไว้ใน (1) และ (2) เว้นแต่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

(4) บุคคลซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ

(5) บุคคลซึ่งไม่สามารถจะใช้อาวุธปืนได้โดยกายพิการหรือทุพพลภาพ เว้นแต่จะมีไว้เพื่อเก็บมาตรา 11

(6) บุคคลซึ่งเป็นคนไร้ความสามารถหรือเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถหรือปรากฏว่าเป็นคนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

(7) บุคคลซึ่งไม่มีอาชีพและรายได้

(8) บุคคลซึ่งไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง

(9) บุคคลซึ่งมีความประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงอันอาจกระทบกระเทือนถึงความสงบเรียบร้อยของประชาชน *สำหรับใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน ห้ามมิให้ออกให้แก่บุคคลซึ่งมีชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร และมีถิ่นที่อยู่ประจำในท้องที่ที่บุคคลนั้นขออนุญาตน้อยกว่าหกเดือน *ความในวรรคสองมาตรา 13 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 44 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2519

มาตรา 14 บุคคลใดมีความประสงค์ให้ผู้อื่นมีและใช้อาวุธปืน หรือเครื่องกระสุนปืนสำหรับรักษาทรัพย์สินของตนอันจักต้องใช้ให้ผู้อื่นดูแล หรือจักต้องสั่งนำเข้า หรือซื้ออาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนเพื่อความประสงค์เช่นว่านั้น อาจขอรับหนังสืออนุญาตพิเศษจากนายทะเบียนท้องที่ที่บุคคลนั้นมีถิ่นที่อยู่ หนังสืออนุญาตนี้นายทะเบียนจะออกให้ได้แต่โดยอนุมัติของเจ้าพนักงานซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งไว้

ผู้จะรับมอบอาวุธปืนตามความในวรรคก่อน ต้องเป็นผู้ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 13

มาตรา 15 ในการสั่งอาวุธปืน หรือเครื่องกระสุนปืนตามหมวดนี้ให้นำมาตรา 30 และมาตรา 31 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา 16 ในการนำเข้าซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืน ให้ผู้นำเข้าแจ้งเป็นหนังสือและส่งมอบอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนไว้แก่พนักงานศุลกากร ณ ด่านที่แรกมาถึงจากนอกราชอาณาจักร เว้นแต่ในกรณีซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนดให้มอบแก่พนักงานศุลกากร ณ ด่านอื่น

เมื่อพนักงานศุลกากรได้รับหนังสือแจ้งและรับมอบอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนไว้แล้ว ให้แจ้งเป็นหนังสือไปยังนายทะเบียนท้องที่ที่ใกล้ที่สุด

แต่ถ้าผ่านเข้ามาในท้องที่ที่ไม่มีด่านศุลกากร ให้ผู้นำเข้าแจ้งเป็นหนังสือและส่งมอบอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนไว้แก่นายทะเบียนท้องที่ หรือผู้ทำการแทนนายทะเบียนท้องที่ที่ใกล้ที่สุดโดยไม่ชักช้า

มาตรา 17 ภายในกำหนดเก้าสิบวัน นับแต่วันส่งมอบอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนแก่พนักงานศุลกากรหรือนายทะเบียนท้องที่ตามมาตรา 16 ในกรณีที่ผู้นำเข้ายังไม่ได้รับอนุญาต ให้ผู้นำเข้ายื่นคำขอรับใบอนุญาตนำเข้าซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนนั้นต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนมีถิ่นที่อยู่

ถ้านายทะเบียนอนุญาตให้นำเข้าซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนให้ผู้นำเข้าขอรับใบอนุญาตภายในกำหนดหกสิบวัน นับแต่วันรับแจ้งความการอนุญาตนั้นเป็นหนังสือ

ถ้านายทะเบียนไม่อนุญาตให้สั่งเป็นหนังสือ ให้ผู้นำเข้าส่งกลับออกนอกราชอาณาจักรซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนนั้นภายในกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวันและไม่เกินหกเดือน นับแต่วันที่ผู้นำเข้าได้รับคำสั่ง ในกรณีที่ไม่สามารถแจ้งคำสั่งให้ผู้นำเข้าทราบได้ ให้นายทะเบียนโฆษณาคำสั่งนั้นทางหนังสือพิมพ์และปิดประกาศในที่เปิดเผยเป็นเวลาไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน เมื่อพ้นกำหนดให้ถือว่าผู้นำเข้าได้ทราบคำสั่งนั้นแล้ว

มาตรา 18 ถ้าอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนซึ่งได้มอบไว้แก่พนักงานศุลกากรหรือนายทะเบียนท้องที่ตามมาตรา 16 เป็นของสำหรับใช้ส่วนตัวโดยปกติของผู้นำเข้าซึ่งเดินทางผ่านหรือจะอยู่ในราชอาณาจักรชั่วคราว ให้พนักงานศุลกากรหรือนายทะเบียนท้องที่แล้วแต่กรณีรักษาไว้จนเมื่อผู้นำเข้านั้นจะออกไปนอกราชอาณาจักรจึงคืนให้ แต่ถ้าผู้นำเข้าประสงค์จะใช้อาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนนั้นระหว่างที่อยู่ในราชอาณาจักร ก็ให้ขอรับใบอนุญาตให้มีและใช้ชั่วคราวต่อนายทะเบียนท้องที่หรือเจ้าพนักงานซึ่งรัฐมนตรีจะได้กำหนดขึ้นเพื่อการนี้

มาตรา 19 ถ้าผู้นำเข้าซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนมิได้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตภายในกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันส่งมอบ หรือในกรณีที่นายทะเบียนท้องที่อนุญาตให้นำเข้าแล้ว ผู้นำเข้าไม่มารับใบอนุญาตภายในกำหนดหกสิบวัน นับแต่วันที่นายทะเบียนสั่งอนุญาตหรือมิได้ส่งกลับออกนอกราชอาณาจักรซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนตามมาตรา 17 หรือเมื่อได้รับอนุญาตให้นำเข้าซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนแล้วไม่มารับอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนนั้นไปจากพนักงานศุลกากรหรือนายทะเบียนท้องที่จนพ้นกำหนดอายุใบอนุญาตหรือผู้นำเข้าซึ่งได้เดินทางผ่านหรือจะอยู่ในราชอาณาจักรชั่วคราวไม่รับคืนอาวุธปืนไปเมื่อออกนอกราชอาณาจักร ให้อาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนนั้นตกเป็นของแผ่นดิน

มาตรา 20 อาวุธปืนที่สั่งหรือนำเข้า เมื่อได้รับมอบไปจากพนักงานศุลกากรแล้ว ให้ผู้รับใบอนุญาตนำไปขออนุญาตมีและใช้ต่อนายทะเบียนท้องที่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รับมอบไปจากพนักงานศุลกากร

มาตรา 21 ถ้าอาวุธปืนที่ได้รับอนุญาตแล้วถูกทำลายหรือสูญหายโดยเหตุใด ๆ ก็ดี ให้ผู้รับใบอนุญาตแจ้งเหตุและส่งมอบใบอนุญาตต่อนายทะเบียนท้องที่ซึ่งตนอยู่หรือที่เกิดเหตุภายในสิบห้าวันนับแต่วันทราบเหตุ

มาตรา 22 ให้เจ้าพนักงานต่อไปนี้ มีอำนาจออกใบอนุญาตให้แก่บุคคลที่ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน มีอาวุธปืนติดตัวไปได้ตามความที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้

(1) อธิบดีกรมตำรวจ สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร และทั่วราชอาณาจักร

(2) ผู้ว่าราชการจังหวัด เฉพาะภายในเขตจังหวัดของตน และเฉพาะผู้ที่มีถิ่นที่อยู่ในเขตจังหวัดนั้น

เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือถ้าผู้รับใบอนุญาตแสดงตนให้เป็นที่น่าหวาดเสียวต่อประชาชน ผู้ออกใบอนุญาตจะสั่งพักใช้ใบอนุญาตที่ออกให้ตามมาตรานี้โดยมีกำหนดระยะเวลา หรือจะสั่งเพิกถอนเสียก็ได้ * มาตรา 22 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 44 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2519

มาตรา 23 ใบอนุญาตสำหรับอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืน ตามความในส่วนนี้จะออกได้แต่ตามประเภทและมีกำหนดอายุ ดังต่อไปนี้

(1) ใบอนุญาตให้ทำ ให้ออกได้เฉพาะสำหรับทำดินปืนมีควันสำหรับใช้เองและเฉพาะผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนซึ่งใช้ดินปืนมีควัน มีอายุตลอดเวลาที่ผู้นั้นมีใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนนั้นอยู่

(2) ใบอนุญาตให้ซื้อ มีอายุหกเดือนนับแต่วันออก

(3) ใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน มีอายุตลอดเวลาที่ผู้รับใบอนุญาตเป็นเจ้าของอาวุธปืนนั้น

(4) ใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืนชั่วคราวมีอายุหกเดือนนับแต่วันออก

(5) ใบอนุญาตให้สั่ง หรือนำเข้า มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันออก

(6) ใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนไว้เพื่อเก็บ มีอายุตลอดเวลาที่ผู้รับใบอนุญาตมีอาวุธปืนนั้นไว้เพื่อเก็บ

(7) ใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัวมีอายุหนึ่งปี นับแต่วันออกส่วนที่ 2อาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืนสำหรับการค้า_______________

มาตรา 24 ห้ามมิให้ผู้ใด ทำ ประกอบ ซ่อมแซม เปลี่ยนลักษณะ สั่ง นำเข้า มี หรือจำหน่าย ซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนสำหรับการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่

มาตรา 25 ใบอนุญาตให้ทำ ประกอบ ซ่อมแซม เปลี่ยนลักษณะ มี หรือจำหน่ายอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนสำหรับการค้านั้น เมื่อได้รับการอนุมัติจากรัฐมนตรีแล้วจึงให้นายทะเบียนท้องที่ออกให้

มาตรา 26 ห้ามมิให้ออกใบอนุญาตตามความในส่วนนี้แก่บุคคลต่อไปนี้

(1) บุคคลที่ต้องห้ามตามมาตรา 13

(2) บุคคลที่ต้องคำพิพากษาของศาล ให้ปรับตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปหรือจำคุกแม้แต่ครั้งเดียว ฐานกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดและดอกไม้เพลิง พุทธศักราช 2477 หรือพระราชบัญญัตินี้ และพ้นโทษครั้งสุดท้ายยังไม่เกินสิบปีนับแต่วันพ้นโทษถึงวันยื่นคำขอใบอนุญาต

มาตรา 27 โดยอนุมัติของรัฐมนตรี นายทะเบียนท้องที่จะกำหนดเงื่อนไขลงในใบอนุญาตว่าด้วยกำหนดเวลาจากการเก็บรักษาอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนก็ได้ตามสมควร

มาตรา 28 ผู้ได้รับใบอนุญาตตามความในส่วนนี้ ต้องทำบัญชีตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงทั้งต้องรับผิดชอบรักษาอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่มีอยู่ให้ตรงกับบัญชีเช่นว่านั้น

มาตรา 29 ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ทำหรือประกอบอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฏกระทรวง

มาตรา 30 ผู้รับอนุญาตให้สั่งอาวุธปืน หรือเครื่องกระสุนปืนต้องนำใบอนุญาตนั้นไปแสดงต่ออธิบดีกรมศุลกากรหรือเจ้าพนักงานซึ่งอธิบดีกรมศุลกากรมอบหมายเพื่อการนี้ก่อนสั่ง

มาตรา 31 เมื่ออาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนตามใบอนุญาตให้สั่งเข้ามาถึงแล้วถ้าไม่มีผู้รับไปจากกรมศุลกากรภายในกำหนดสี่เดือนนับแต่วันเข้ามาถึง ให้เจ้าพนักงานศุลกากรแจ้งเป็นหนังสือแก่ผู้รับใบอนุญาต แต่ถ้าส่งหนังสือนั้นไม่ได้ ก็ให้แจ้งแก่เจ้าของยานพาหนะหรือผู้ขนส่งที่นำเข้าให้ส่งกลับออกนอกราชอาณาจักรภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือนั้น มิฉะนั้นให้อาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนนั้นตกเป็นของแผ่นดิน

มาตรา 32 อาวุธปืนที่สั่งหรือนำเข้า เมื่อได้รับมอบไปจากพนักงานศุลกากรแล้ว ให้ผู้รับใบอนุญาตนำไปจดทะเบียนยังนายทะเบียนท้องที่ภายในกำหนดสามสิบวัน นับแต่วันที่รับมอบไปจากพนักงานศุลกากร และให้นายทะเบียนทำเครื่องหมายประจำอาวุธปืนนั้นมีเครื่องหมายถูกต้องตามใบอนุญาต

มาตรา 33 ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้ซ่อมแซม หรือเปลี่ยนลักษณะอาวุธปืนจะทำการเช่นว่านี้ได้เฉพาะแก่อาวุธปืนที่มีผู้ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ และเมื่ออาวุธปืนนั้นมีเครื่องหมายถูกต้องตามใบอนุญาต

มาตรา 34 ห้ามมิให้จำหน่ายอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนแก่ผู้ที่ไม่ได้รับใบอนุญาตให้ซื้อหรือมีและใช้อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน

มาตรา 35 ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตให้ซ่อมแซม เปลี่ยนลักษณะ หรือมี และจำหน่ายอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนนั้น จะทำการเช่นว่านี้ได้แต่เฉพาะภายในสถานที่ซึ่งระบุไว้ในใบอนุญาต และเมื่อจะย้ายสถานที่ทำการจะต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียนท้องที่เสียก่อน

มาตรา 36 ใบอนุญาตตามความในส่วนนี้ มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันออก

มาตรา 37 ผู้รับใบอนุญาตคนใด ใบอนุญาตสิ้นอายุและไม่ได้ต่ออายุอีกต้องจัดการจำหน่ายอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนที่มีอยู่ หรือส่งออกนอกราชอาณาจักรให้หมดภายในหกเดือน นับแต่วันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุในระหว่างเวลานั้น ถ้านายทะเบียนท้องที่เห็นสมควรเพื่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน จะเรียกมาเก็บรักษาเสียเอง หรือเข้าควบคุมการเก็บรักษาก็ได้ แต่ต้องให้เจ้าของได้รับความสะดวกตามสมควรในอันที่จะจัดการจำหน่ายหรือส่งออกนอกราชอาณาจักรซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนนั้น

เมื่อครบกำหนดหกเดือนแล้ว ถ้ายังจำหน่ายหรือส่งออกนอกราชอาณาจักรไม่หมดให้ผู้รับใบอนุญาตส่งมอบอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่เหลืออยู่แก่นายทะเบียนท้องที่ภายในกำหนดเจ็ดวัน

เมื่อได้รับมอบอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนตามวรรคสองแล้วให้นายทะเบียนจัดการขายทอดตลาดอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนนั้นภายหลังที่ได้ประกาศขายทอดตลาดและแจ้งให้เจ้าของทราบแล้วตามสมควรเงินได้สุทธิเท่าใดให้ส่งมอบแก่เจ้าของหมวด 2วัตถุระเบิด_______________

มาตรา 38 ห้ามมิให้ผู้ใด ทำ ซื้อ มี ใช้ สั่ง นำเข้า ค้า หรือจำหน่ายด้วยประการใด ๆ ซึ่งวัตถุระเบิดเว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่

นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรี

มาตรา 39 ห้ามมิให้ออกใบอนุญาตตามความในหมวดนี้แก่บุคคลที่ต้องห้ามตามมาตรา 13 หรือมาตรา 25 แล้วแต่กรณี

มาตรา 40 โดยอนุมัติของรัฐมนตรี นายทะเบียนท้องที่อาจกำหนดเงื่อนไขลงในใบอนุญาตว่าด้วยการเก็บรักษาวัตถุระเบิดได้ตามที่เห็นสมควร

มาตรา 41 ในการทำ สั่ง นำเข้า มี หรือค้าวัตถุซึ่งระเบิดให้นำมาตรา 16 มาตรา 17 มาตรา 18 มาตรา 19 มาตรา 27 มาตรา 28 มาตรา 29 มาตรา 30 มาตรา 34 มาตรา 35 และมาตรา 37 มาบังคับใช้โดยอนุโลม

มาตรา 42 ในกรณีที่สั่งหรือนำเข้าซึ่งวัตถุระเบิด และเจ้าพนักงานผู้เก็บรักษาวัตถุระเบิดไว้ ถ้าผู้สั่งหรือนำเข้าไม่นำใบอนุญาตให้มีและใช้มารับเอาไปภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่เข้ามาถึงในกรณีที่มิใช่สำหรับการค้า หรือภายในสองปีนับแต่วันที่เข้ามาถึงในกรณีสำหรับการค้า ใหวัตถุระเบิดนั้นตกเป็นของแผ่นดิน

มาตรา 43 ห้ามมิให้ย้ายวัตถุระเบิดจากที่แห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง เว้นแต่ได้รับหนังสืออนุญาตจากเจ้าพนักงานซึ่งรัฐมนตรีกำหนดไว้ และในการย้ายต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในหนังสืออนุญาตนั้นด้วย


มาตรา 44 ผู้สั่งหรือนำเข้าซึ่งวัตถุระเบิด ในกรณีที่เจ้าพนักงานเป็นผู้เก็บรักษาต้องเสียค่าธรรมเนียมการเก็บรักษาตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง

เพื่อป้องกันภยันตราย เจ้าพนักงานผู้เก็บรักษาวัตถุระเบิด จะเอาวัตถุระเบิดนั้นไปทำการตรวจ และถ้าจำเป็นจะทำลายเสียก็ได้

มาตรา 45 ใบอนุญาตที่ออกให้ตามความในหมวดนี้ มีอายุใช้ได้หนึ่งปีนับแต่วันออก

มาตรา 46 บทบัญญัติในหมวดนี้ไม่ใช้บังคับแก่เครื่องกระสุนปืนและดอกไม้เพลิงตามที่บัญญัติไว้ในหมวดอื่นหมวด 3ดอกไม้เพลิง_______________

มาตรา 47 ห้ามมิให้ผู้ใดทำ สั่ง นำเข้า หรือค้าซึ่งดอกไม้เพลิง เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่

มาตรา 48 ในการทำ สั่ง นำเข้า หรือค้าดอกไม้เพลิงให้นำมาตรา 16 มาตรา 17 มาตรา 18 มาตรา 19 มาตรา 27 มาตรา 28 มาตรา 29 มาตรา 30 มาตรา 31 มาตรา 35 และมาตรา 37 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา 49 โดยอนุมัติของรัฐมนตรี นายทะเบียนท้องที่อาจกำหนดเงื่อนไขลงในใบอนุญาตว่าด้วยการเก็บรักษาดอกไม้เพลิงก็ได้ตามสมควร

มาตรา 50 ใบอนุญาตที่ออกให้ตามความในหมวดนี้มีอายุใช้ได้หนึ่งปีนับแต่วันออก

มาตรา 51 ถ้าปรากฏว่าที่เก็บ ทำ หรือค้าดอกไม้เพลิง อาจเป็นอันตรายแก่ประชาชน เพื่อความปลอดภัยนายทะเบียนท้องที่จะสั่งให้ผู้รับใบอนุญาตจัดการตามความจำเป็นหรือจะให้ย้ายสถานที่นั้นเสียก็ได้หมวด 4สิ่งเทียมอาวุธปืน_______________

มาตรา 52 ห้ามมิให้ผู้ใดสั่ง นำเข้า หรือค้าซึ่งสิ่งเทียมอาวุธปืน เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่

มาตรา 53 ในการสั่ง นำเข้า หรือค้าสิ่งเทียมอาวุธปืน ให้นำมาตรา 16 มาตรา 17 มาตรา 18 มาตรา 19 มาตรา 30 มาตรา 31 และมาตรา 37 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา 54 ใบอนุญาตที่ออกให้ตามความในหมวดนี้ มีอายุใช้ได้หนึ่งปีนับแต่วันออกหมวด 5เบ็ดเตล็ด_______________

มาตรา 55 ประเภท ชนิด และขนาดของอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ตามมาตรา 7 มาตรา 24 หรือมาตรา 38 ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง * มาตรา 55 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2522

มาตรา 56 รัฐมนตรีมีอำนาจห้ามมิให้ออกใบอนุญาตอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนเฉพาะบางชนิดในบางท้องที่ หรือทั่วราชอาณาจักรตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง

มาตรา 57 ในคราวมีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนรัฐมนตรีมีอำนาจออกคำสั่งห้ามหรือจำกัดการออกใบอนุญาตทุกประเภทหรือบางประเภทในชั่วระยะเวลาที่กำหนดหรือจะออกคำสั่ง โดยประกาศหรือแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้รับใบอนุญาตส่งมอบอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดแก่เจ้าพนักงานเพื่อเก็บรักษาไว้หรือจะสั่งให้จำหน่ายเสียก็ได้ ในกรณีที่สั่งให้จำหน่ายให้นำมาตรา 67 มาบังคับโดยอนุโลมและถ้าไม่ปฏิบัติตามที่กล่าวแล้ว จะสั่งให้จำหน่ายแก่ทางราชการในราคาอันสมควรก็ได้ คำสั่งนี้จะกำหนดให้ใช้บังคับในบางท้องที่หรือทั่วราชอาณาจักรก็ได้

มาตรา 58 ใบอนุญาตที่ออกให้ตามความในพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้ได้เฉพาะตัวผู้รับใบอนุญาต

มาตรา 59 ห้ามมิให้โอนอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดให้แก่ผู้ที่มิได้รับใบอนุญาต

มาตรา 60 เมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตได้รับอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง หรือสิ่งเทียมอาวุธปืนซึ่งได้ส่งเข้ามาตามใบอนุญาตให้สั่งฉบับใดไปพ้นจากอารักขาของเจ้าพนักงานศุลกากรแล้ว แม้ว่าผู้ได้รับอนุญาตจะมิได้สั่งอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนวัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง หรือสิ่งเทียมอาวุธปืนเช่นว่านี้เข้ามาครบตามที่อนุญาตไว้ในใบอนุญาตก็ดี ใบอนุญาตฉบับนั้นเป็นอันใช้สั่งไม่ได้อีกต่อไป

มาตรา 61 อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง หรือสิ่งเทียมอาวุธปืนที่ส่งเข้ามาในสหราชอาณาจักรโดยไม่มีผู้รับใบอนุญาตให้สั่งให้ตกเป็นของแผ่นดิน แต่ถ้าภายในสี่เดือนนับแต่วันที่ของเข้ามาถึง ผู้ส่งได้ยื่นคำร้องขอส่งกลับออกนอกราชอาณาจักรรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจะสั่งอนุญาตก็ได้ เมื่อเป็นที่พอใจว่าผู้ส่งไม่มีส่วนในการกระทำผิดกฎหมาย

มาตรา 62 ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนคนใดย้ายถิ่นที่อยู่ ให้แจ้งการย้ายแก่นายทะเบียนท้องที่ภายในสิบห้าวันนับแต่วันย้าย และถ้าย้ายไปอยู่ต่างท้องที่ให้แจ้งการย้ายแก่นายทะเบียนท้องที่ใหม่ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ย้ายไปถึงอีกด้วย

มาตรา 63 ถ้านายทะเบียนท้องที่ปฏิเสธการออกใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้ยื่นคำขอใบอนุญาตอาจอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับการแจ้งปฏิเสธเป็นหนังสือคำอุทธรณ์ให้ยื่นต่อนายทะเบียนท้องที่ และให้นายทะเบียนเสนอคำอุทธรณ์นั้นต่อรัฐมนตรีโดยมิชักช้าคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้แจ้งเป็นหนังสือไปยังผู้ยื่นคำขอใบอนุญาต

ในกรณีที่มีการอุทธรณ์ ระยะเวลาที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้เพื่อการปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนท้องที่ให้ส่งกลับออกนอกราชอาณาจักรซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนตามมาตรา 17 หรือให้จัดการจำหน่ายอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดตามมาตรา 64 ให้นับแต่วันที่ผู้ยื่นคำขอใบอนุญาตได้รับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีและเมื่อได้ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีแล้ว การปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนท้องที่นั้นให้พักไว้จนถึงวันที่ผู้ยื่นคำขอใบอนุญาตได้รับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี *คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด

มาตรา 64 ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตตาย ให้ผู้ซึ่งมีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด หรือใบอนุญาตของผู้ตายตกอยู่ในความครอบครองแจ้งการตายต่อนายทะเบียนท้องที่ซึ่งตนอยู่ หรือนายทะเบียนท้องที่ที่ออกใบอนุญาต หรือนายทะเบียนท้องที่ที่ผู้รับใบอนุญาตตายภายในกำหนดสามสิบวัน นับแต่วันที่ทราบการตายของผู้รับใบอนุญาต

นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้เก็บรักษาอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดของผู้รับใบอนุญาตที่ตายไว้อย่างไร และ ณ ที่ใดก็ได้ตามควรแก่กรณี และถ้ามีข้อโต้เถียงถึงเรื่องสิทธิของทายาท ก็ให้เก็บรักษาไว้จนกว่าข้อโต้เถียงนั้นจนถึงที่สุด

ภายในกำหนดหกเดือนนับแต่วันที่ผู้รับใบอนุญาตตาย หรือมีข้อโต้เถียงถึงเรื่องสิทธิของทายาทนับแต่วันที่ข้อโต้เถียงนั้นถึงที่สุด ผู้จัดการมรดกหรือทายาทในกรณีที่ไม่มีผู้จัดการมรดกอาจขอใบอนุญาตใหม่ได้เมื่อนายทะเบียนได้ออกใบอนุญาตให้แล้ว ให้มอบอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดนั้นแก่ผู้รับใบอนุญาตใหม่ ถ้าไม่ออกใบอนุญาตให้ใหม่ก็ให้แจ้งความให้ผู้ขอทราบ และสั่งให้จัดการจำหน่ายสิ่งเหล่านั้นภายในกำหนดหกเดือนนับแต่วันรับคำสั่ง มิฉะนั้นให้นายทะเบียนท้องที่มีอำนาจจัดการขายทอดตลาดสิ่งเหล่านั้น ได้เงินจำนวนสุทธิเท่าใดให้ส่งมอบแก่ผู้มีสิทธิ

มาตรา 65 ผู้ได้รับใบอนุญาตคนใดตกเป็นผู้ซึ่งจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ตามความในพระราชบัญญัตินี้ ให้แจ้งพฤติการณ์นั้น และส่งมอบอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด และใบอนุญาตให้แก่นายทะเบียนท้องที่โดยไม่ชักช้า และให้นายทะเบียนท้องที่หรือรัฐมนตรีสั่งเพิกถอนใบอนุญาตนั้นเสีย

ถ้าผู้รับใบอนุญาตเป็นคนไร้ความสามารถ หรือเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือเป็นคนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ให้ผู้อนุบาล ผู้พิทักษ์ หรือผู้ควบคุมดูแลแล้วแต่กรณี มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามความในวรรคก่อน

มาตรา 66 ถ้าปรากฎว่าผู้ที่ได้รับใบอนุญาตตามความในพระราชบัญญัตินี้เป็นผู้ซึ่งจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ ให้นายทะเบียนท้องที่หรือรัฐมนตรีสั่งเพิกถอนใบอนุญาตนั้นเสีย เมื่อได้รับคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตแล้ว ให้ผู้รับใบอนุญาตส่งมอบอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนหรือวัตถุระเบิด และใบอนุญาตแก่นายทะเบียนท้องที่โดยไม่ชักช้า

ถ้าผู้รับใบอนุญาตเป็นคนไร้ความสามารถ หรือเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถหรือเป็นคนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ให้ผู้อนุบาล ผู้พิทักษ์ หรือผู้ควบคุมดูแลแล้วแต่กรณี มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามความในวรรคก่อน

มาตรา 67 อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด ซึ่งส่งมอบไว้ตามมาตรา 65 หรือมาตรา 66 นั้นให้ผู้ส่งมอบจัดการโอนเสียภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ส่งมอบถ้าโอนได้ให้นายทะเบียนท้องที่มอบแก่ผู้รับโอนไป แต่ถ้าโอนไม่ได้ให้นายทะเบียนจัดการขายทอดตลาดภายหลังที่ได้ประกาศและแจ้งให้ผู้ส่งมอบทราบแล้วตามสมควร ได้เงินสุทธิเท่าใดให้มอบแก่ผู้มีสิทธิ

มาตรา 68 เมื่อมีพฤติการณ์อันสมควรสงสัยว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตคนใดจะเป็นผู้ต้องห้ามในการออกใบอนุญาตตามมาตรา 13 (7) (8) หรือ (9) นายทะเบียนท้องที่มีอำนาจเรียกประกันหรือทัณฑ์บนจากผู้นั้นได้

ถ้าผู้รับใบอนุญาตดังกล่าวแล้ว หาประกันให้เป็นที่เชื่อถือไม่ได้หรือไม่ยอมทำทัณฑ์บนภายในเวลาอันสมควรตามที่นายทะเบียนได้กำหนดให้ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าสามสิบวันให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นเป็นผู้ซึ่งจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ และให้นำมาตรา 66 และมาตรา 67 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา 69 เมื่อใบอนุญาตสูญหายเป็นอันตรายหรือลบเลื่อนอ่านไม่ออก ให้ผู้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนอนุญาตต่อนายทะเบียนท้องที่ ภายในสาม สิบวันนับแต่วันที่ทราบเหตุนั้น ถ้านายทะเบียนเห็นว่ามีเหตุเป็นที่เชื่อถือได้ ก็ให้ออกใบแทนให้ตามเงื่อนไขของใบอนุญาตเดิม แต่ถ้าใบอนุญาตที่สูญหาย ได้คืนภายหลังก็ให้ส่งใบแทนนั้นแก่นายทะเบียนท้องที่ภายในกำหนดสิบห้าวันนับ แต่วันที่ได้คืน

มาตรา 70 ห้ามไม่ให้ผู้ใดนำอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุ ระเบิดผ่านราชอาณาจักร เว้นแต่การจะได้รับหนังสืออนุญาตจากรัฐมนตรีหรือ เจ้าพนักงานซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งเพื่อการนี้

ผู้นำหนังสืออนุญาตให้นำอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดผ่าน ราชอาณาจักร จะนำสิ่งเช่นว่านั้นผ่านราชอาณาจักรได้เฉพาะแต่ทางด้าน ศุลกากรซึ่งรัฐมนตรีกำหนดไว้และต้องแจ้งความตามแบบพิมพ์ของกรมศุลกากร แก่พนักงานศุลกากร

เมื่อพนักงานศุลกากรได้รับแจ้งความตามวรรคก่อนแล้ว ให้แจ้งเรื่องให้ นายทะเบียนท้องที่ทราบ ถ้านายทะเบียนท้องที่เห็นเป็นการจำเป็นเพื่อความ ปลอดภัยของประชาชนจะจัดการควบคุมอาวุธปืน หรือวัตถุระเบิด ในระหว่าง ที่อยู่ในราชอาณาจักรก็ได้และผู้รับหนังสืออนุญาตเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการนั้น

มาตรา 71 ให้รัฐมนตรีมีอำนาจจำกัดจำนวนร้านค้า และกำหนดจำนวน ชนิดและขนาดอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่ง เทียมอาวุธปืนสำหรับการค้าตามที่เห็นสมควรหมวด 6บทกำหนดโทษ_______________

มาตรา 72 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 7 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึง สิบปีและปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท

ถ้าการฝ่าฝืนตามวรรคหนึ่งเป็นกรณีเกี่ยวกับส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธปืน ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง หรือเป็นกรณีที่มีเครื่องกระสุนปืน ผู้ฝ่าฝืนต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าการฝ่าฝืน ตามวรรคหนึ่งเป็นเพียงการมีอาวุธปืนที่เป็นของผู้อื่นซึ่งได้ รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมาย ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หก เดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท

ถ้าการฝ่าฝืนตามวรรคหนึ่ง เป็นการทำเครื่องกระสุนปืนที่ทำด้วยดินปืนมี ควันสำหรับใช้เอง โดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ ผู้ฝ่าฝืนต้อง ระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท **แก้ไขเพิ่มเติมวรรคสี่ โดย (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2522 (รก เล่ม 28 ตอนพิเศษ 13 วันที่ 1 มีนาคม 2522)

มาตรา 72ทวิ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 8 มาตรา 12 มาตรา 16 วรรคหนึ่ง หรือวรรคสาม มาตรา 20 มาตรา 58 มาตรา 59 มาตรา 65 มาตรา 66 หรือมาตรา 70 วรรคหนึ่งหรือวรรคสองต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 8ทวิ วรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคักไม่เกินห้าปีหรือ ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าผู้นั้นฝ่าฝืนมาตรา 8ทวิ วรรค สองด้วย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปีและปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาท ถึงหนึ่งหมื่นบาท

ผู้ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัวผู้ใด ฝ่าฝืนมาตรา 8ทวิ วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ *หมายเหตุ มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อความขึ้นมาใหม่ โดยคำสั่ง คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน (ฉบับที่ 44) ข้อ 7,8,9 พ.ศ. 2519

มาตรา 73 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 24 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึง ยี่สิบปีและปรับตั้งแต่สี่พันบาทถึงสี่หมื่นบาท *หมายเหตุ มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อความขึ้นมาใหม่ โดยคำสั่ง คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน (ฉบับที่ 44) ข้อ 7,8,9 พ.ศ. 2519

มาตรา 73ทวิ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 32 มาตรา 33 หรือมาตรา 34 ต้อง ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงสอง หมื่นบาท *หมายเหตุ มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อความขึ้นมาใหม่ โดยคำสั่ง คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน (ฉบับที่ 44) ข้อ 7,8,9 พ.ศ. 2519

มาตรา 74 ผู้ใดฝ่าฝืนบทบัญญัติเกี่ยวกับวัตถุระเบิดตามมาตรา 16 วรรคหนึ่งหรือวรรคสาม ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมมาตรา 41 หรือ ฝ่าฝืนมาตรา 38 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ สองพัน บาทถึงสี่หมื่นบาท *หมายเหตุ มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อความขึ้นมาใหม่ โดยคำสั่ง คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน (ฉบับที่ 44) ข้อ 7,8,9 พ.ศ. 2519

มาตรา 75 ผู้ใดฝ่าฝืนบทบัญญัติเกี่ยวกับวัตถุระเบิดตามมาตรา 28 มาตรา 34 มาตรา 35 หรือมาตรา 37 วรรคสอง ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดย อนุโลมตามมาตรา 41 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี และปรับ ตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงสองหมื่นบาท *หมายเหตุ มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อความขึ้นมาใหม่ โดยคำสั่ง คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน (ฉบับที่ 44) ข้อ 7,8,9 พ.ศ. 2519

มาตรา 76 ผู้ใดฝ่าฝืนเงื่อนไขที่กำหนดไว้สำหรับวัตถุระเบิดตามมาตรา 27 หรือมาตรา 29 ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา 41 ต้อง ระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าร้อยบาทถึงห้าพันบาท *หมายเหตุ มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อความขึ้นมาใหม่ โดยคำสั่ง คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน (ฉบับที่ 44) ข้อ 7,8,9 พ.ศ. 2519

มาตรา 77 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 47 หรือมาตรา 52 หรือไม่ปฏิบัติตาม คำสั่งนายทะเบียนท้องที่ตามมาตรา 51 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่ง เดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ *หมายเหตุ มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อความขึ้นมาใหม่ โดยคำสั่ง คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน (ฉบับที่ 44) ข้อ 7,8,9 พ.ศ. 2519

มาตรา 78 ผู้ใดทำ ประกอบ ซ่อมแซม เปลี่ยนลักษณะ ซื้อ มี ใช้ สั่ง หรือนำเข้าซึ่งอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด นอกจากที่กำหนด ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 55 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึง จำคุกตลอดชีวิต

ผู้ใดค้า หรือจำหน่ายอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด นอก จากที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 55 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ ยี่สิบปีถึงจำคุกตลอดชีวิต

ผู้ใดใช้อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด นอกจากที่กำหนดใน กฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 55 ในการกระทำความผิดตามประมวล กฎหมายอาญามาตรา 288 มาตรา 313 มาตรา 337 มาตรา 339 หรือมาตรา 340 ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต

การกระทำความผิดตามวรรคสองหรือวรรคสาม ถ้าอาวุธปืน เครื่อง กระสุนปืนหรือวัตถุระเบิดนั้น โดยสภาพมีอานุภาพไม่ร้ายแรง ต้องระวางโทษ จำคุกตั้งแต่สองปีถึงจำคุกตลอดชีวิต *หมายเหตุ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดยพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2530

มาตรา 79 ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งซึ่งออกตามความในมาตรา 57 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้ง จำทั้งปรับ *หมายเหตุ มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อความขึ้นมาใหม่ โดยคำสั่ง คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน (ฉบับที่ 44) ข้อ 11 พ.ศ. 2519

มาตรา 80 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 37 วรรคสอง หรือมาตรา 43 หรือฝ่า ฝืนเงื่อนไขตามมาตรา 40 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าร้อยบาทถึงห้าพันบาท *หมายเหตุ มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อความขึ้นมาใหม่ โดยคำสั่ง คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน (ฉบับที่ 44) ข้อ 11 พ.ศ. 2519

มาตรา 81 ผู้ใดฝ่าฝืนเงื่อนไขตามมาตรา 27 หรือมาตรา 29 หรือ ฝ่าฝืนมาตรา 28 มาตรา 30 หรือมาตรา 35 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ห้าพันบาท *หมายเหตุ มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อความขึ้นมาใหม่ โดยคำสั่ง คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน (ฉบับที่ 44) ข้อ 11 พ.ศ. 2519

มาตรา 82 ผู้ใดสั่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืน ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ มาตรา 30 ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา 15 ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินห้าพันบาท *หมายเหตุ มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อความขึ้นมาใหม่ โดยคำสั่ง คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน (ฉบับที่ 44) ข้อ 11 พ.ศ. 2519

มาตรา 83 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 21 มาตรา 62 มาตรา 64 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 69 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท *หมายเหตุ มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อความขึ้นมาใหม่ โดยคำสั่ง คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน (ฉบับที่ 44) ข้อ 11 พ.ศ. 2519

มาตรา 84 ผู้ใดฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติเกี่ยวกับดอกไม้เพลิง ตามมาตรา 16 วรรคหนึ่งหรือวรรคสาม มาตรา 28 มาตรา 30 มาตรา 35 มาตรา 37 วรรคสอง หรือฝ่าฝืนเงื่อนไขตามมาตรา 49 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่ง พันบาท *หมายเหตุ มาตรานี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อความขึ้นมาใหม่ โดยคำสั่ง คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน (ฉบับที่ 44) ข้อ 11 พ.ศ. 2519

มาตรา 85 ผู้ใดฝ่าฝืนบทบัญญัติเกี่ยวกับสิ่งเทียมอาวุธปืนตามมาตรา 16 วรรคหนึ่งหรือวรรคสาม มาตรา 30 หรือมาตรา 37 วรรคสอง ซึ่งได้นำมา ใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา 53 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทบทเฉพาะกาล_______________

มาตรา 86 ผู้ใดมีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด ไม่ว่าชนิดหรือขนาดใดซึ่งยังไม่ได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมาย ถ้าได้นำอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดดังกล่าวแล้วมา ขออนุญาตเพื่อปฏิบัติการให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัตินี้ต่อนาย ทะเบียนท้องที่ภายในกำหนดเก้าสิบวันนับตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติ ใช้บังคับ ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษตามพระราชบัญญัตินี้ และมิให้นำบท บัญญัติแห่งมาตรา 55 มาใช้บังคับเพื่อการนี้ รัฐมนตรีจะกำหนด เงื่อนไขในการออกใบอนุญาตตามที่เห็นสมควรก็ได้

มาตรา 87 บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด และดอกไม้เพลิง ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้ บังคับ ให้คงใช้ได้ต่อไปจนกว่าใบอนุญาตนั้น ๆ สิ้นอายุ แต่ถ้าผู้ที่ได้รับใบ อนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนคนใดจะขอรับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ ก่อน ใบอนุญาตเดิมสิ้นอายุก็ให้ทำได้

มาตรา 88 ในการออกใบอนุญาตให้มีและให้ใช้อาวุธปืน และเครื่อง กระสุนปืน ตามพระราชบัญญัตินี้ให้แก่ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วย อาวุธปืนเครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด และดอกไม้เพลิงอยู่แล้วก่อนวันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับมิให้นำบทบัญญัติมาตรา 13 (4) มาใช้บังคับสำหรับ อาวุธปืนตามใบอนุญาตเดิมนั้นอัตราค่าธรรมเนียม

ลำดับที่ ประเภท บาท 1. ใบอนุญาตให้ใช้ทำอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนก. ครั้งแรก ฉบับละ 50,000ข. ต่ออายุปีต่อปี ฉบับละ 5,000

2. ใบอนุญาตให้ใช้ทำอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนก. ครั้งแรก ฉบับละ 15,000ข. ต่ออายุปีต่อปี ฉบับละ 1,500

3. ใบอนุญาตให้ประกอบ ซ่อมแซม เปลี่ยนลักษณะอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน ฉบับละ 250

4. ใบอนุญาตให้ทำดินปืนมีควันสำหรับการค้า ฉบับละ 200 5. ใบอนุญาตให้ทำดินปืนมีควันไว้ใช้เอง ฉบับละ 5 6. ใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนดังต่อไปนี้ก. ปืนยาวประจุปาก ปืนอัดลม ฉบับละ 200ข.ปืนอื่น ๆ ฉบับละ 1,000

7. ใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว ฉบับละ 1,000 8. ใบอนุญาตให้สั่งหรือนำเข้าอาวุธปืน กระบอกละ 30 9. ใบอนุญาตให้สั่งหรือนำเข้าซึ่งส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืน ฉบับละ 20

10. ใบอนุญาตให้สั่งหรือนำเข้าซึ่งกระสุนปืน นอกจากกระสุนอัดลม จำนวนไม่เกินหนึ่งพันนัด ฉบับละ 20ถ้าจำนวนเกินกว่าหนึ่งพันนัดให้เรียกเก็บเพิ่มอีกร้อยละหรือเศษของร้อย 2

11. ใบอนุญาตให้สั่งหรือนำเข้าซึ่งกระสุนปืนอัดลมร้อยละหรือเศษของร้อย 1

12. ใบอนุญาตให้ซื้ออาวุธปืน กระบอกละ 10 13. ใบอนุญาตให้ซื้อกระสุนปืนนอกจากกระสุนอัดลมร้อยละหรือเศษของร้อย 2

14. ใบอนุญาตให้ซื้อกระสุนปืนอัดลมร้อยละหรือเศษของร้อย 1 15. ใบอนุญาตให้ซื้อส่วนใดส่วนหนึ่งของอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน 5

16. ใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนที่นำเข้ามาชั่วคราว ฉบับละ 10

17. ใบอนุญาตให้ทำวัตถุระเบิดก. ครั้งแรก ฉบับละ 50,000ข. ต่ออายุปีต่อปี ฉบับละ 6,000

18. ใบอนุญาตให้ค้าวัตถุระเบิดก. ครั้งแรก ฉบับละ 15,000ข.ต่ออายุปีต่อปี ฉบับละ 1,500

19. ใบอนุญาตให้สั่งหรือนำเข้าซึ่งวัตถุระเบิดรวมทั้งเครื่องอุปกรณ์ หรือเฉพาะเครื่องประกอบ หรือเครื่องอุปกรณ์อย่างเดียว ฉบับละ 200ถ้าจำนวนวัตถุระเบิดมีน้ำหนักเกินกว่า 50 ปอนด์หรือเศษของ 50 ปอนด์ 10

20. ใบอนุญาตให้มีหรือซื้อวัตถุระเบิด รวมทั้งเครื่องประกอบและเครื่องอุปกรณ์ หรือเฉพาะเครื่องประกอบและเครื่องอุปกรณ์อย่างเดียวเพื่อใช้ในกิจการต่าง ๆ ฉบับละ 200

21. ใบอนุญาตให้สั่งนำเข้า ทำ ค้า หรือมีวัตถุระเบิดเพื่อใช้ในทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทุกจำนวนน้ำหนักหนึ่งร้อยกรัมหรือเศษของร้อยกรัม 10

22. ใบอนุญาตให้ ทำ สั่ง นำเข้า หรือค้าซึ่งดอกไม้เพลิง 10 23. ใบแทนใบอนุญาตดังต่อไปนี้ก. ใบแทนใบอนุญาต ให้ทำค้าอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนและวัตถุระเบิด ฉบับละ 20ข. ใบแทนใบอนุญาต ให้ประกอบซ่อมแซม หรือเปลี่ยนลักษณะอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน ฉบับละ 15

24. ใบอนุญาตให้สั่งนำเข้า หรือค้าซึ่งสิ่งเทียมอาวุธปืนฉบับละ 10

25. สำเนาใบอนุญาตต่าง ๆ ฉบับละ 10

แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2543 (รก.๙๒ก/๔/๑๑ ตุลาคม ๒๕๔๓) มาตรา 69 เมื่อใบอนุญาตสูญหาย เป็นอันตราย