การขอประกันตัว สำหรับผู้กระทำความผิด
Grunge style interior with a prison door

การขอประกันตัว สำหรับผู้กระทำความผิด

การขอประกันตัว คือ การขออนุญาตให้ผู้ต้องหาหรือจําเลยพ้นจากการควบคุมของเจ้าพนักงานหรือศาลตามระยะเวลาที่กําหนด เพื่อไม่ให้ผู้ต้องหาหรือจําเลยถูกควบคุมหรือขังเป็นเวลานานเกินกว่าความจําเป็นในระหว่างการสอบสวนหรือการพิจารณาคดี เพราะหากไม่มีความจําเป็นต้องควบคุม ก็ควรที่จะได้รับการปล่อยชั่วคราวไป อันเป็นการปฏิบัติตามหลักการของรัฐธรรมนูญ ที่ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจําเลยไม่มีความผิด และก่อนมีคําพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดเป็นผู้กระทําความผิดจะปฏิบัติต่อ บุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทําผิดมิได้ (อ้างอิง1)

การขอประกันตัวสำหรับผู้กระทำความผิด จะประกันได้ขณะเป็นผู้ต้องหาในชั้นของพนักงานสอบสวนและในขณะเป็นจำเลยในชั้นศาล

  • ขณะเป็นผู้ต้องหา คือ เมื่อพนักงานสอบสวน หรือ พนักงานอัยการ นำตัวผู้ต้องหามาขอฝากขังต่อศาล และศาลอนุญาตให้ขังซึ่งถือว่าผู้ต้องหาอยู่ในอำนาจควบคุมของศาลแล้ว
  • ขณะเป็นจำเลย คือ ช่วงที่ศาลประทับฟ้องของโจทก์ ผู้ต้องหามีสถานะเป็นจำเลย ซึ่งต้องถูกควบคุมตัวอยู่ในอำนาจของศาล

การปล่อยตัวชั่วคราว

การขอปล่อยตัวชั่วคราว คือ การยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อขอให้พิจารณาปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราว โดยไม่ต้องมีประกันหรือมีประกันและหลักประกัน ภายในระยะเวลาที่กำหนด (อ้างอิง2)

หากผู้ประกันประสงค์จะขอประกันตัว หรือเรียกตามภาษากฎหมายว่า “ขอปล่อยชั่วคราว” ผู้ต้องหา หรือจำเลย จำจะต้องยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราว ระหว่างสอบสวน หรือ ระหว่างพิจารณา แล้วแต่กรณีต่อศาล

สิ่งที่สามารถใช้ประกันตัวหรือหลักประกันได้ มีดังนี้

  1. ใช้ตัวจำเลยเองในการประกันตัว
  2. เงินสด
  3. หลักทรัพย์
  4. ที่ดิน
  5. บัญชีธนาคาร
  6. พันธบัตรรัฐบาล
  7. บุคคล

มาวางหรือประกันตัวได้ โดยจะขึ้นอยู่กับฐานความผิดที่ได้กระทำและความเสียหายของผู้เสียหาย

กำไล EM

จำเลยที่มีโทษทางอาญา จะต้องถูกติดด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่า “EM” ไว้ตามร่างกาย การใช้กำไล EM นั้นเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายในการประกันตัว เพื่อที่ทางตัวผู้ต้องหาจะได้มีเงินเหลือ เพื่อไปใช้ในการดำเนินคดี และยังเป็นส่วนหนึ่งในการลดต้นทุนสำหรับการหาหลักทรัพย์ประกันตัวผู้ต้องหา (แต่ยังต้องใช้เงินหรือหลักทรัพย์มาประกันตัวของตนเองอยู่)

ที่ผ่านมาการปล่อยชั่วคราวนำไปสู่ความไม่เสมอภาคในแง่ที่ว่า บุคคลที่มีฐานะทางการเศรษฐกิจดี ย่อมมีโอกาสที่จะได้รับการปล่อยชั่วคราวดีกว่าบุคคลที่มีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดี เพราะตามหลักเกณฑ์ การปล่อยตัวชั่วคราวตามกฎหมายไทย มีการอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวโดยไม่มีประกัน หรือมีหลักประกัน ดังนั้นกระทรวงยุติธรรม จึงเห็นชอบให้มีการนำเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์มาใช้ เพื่อให้คนที่ด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจ สามารถเข้าถึงความเท่าเทียมในการได้เข้าถึงการปล่อยตัวชั่วคราวด้วย

อ้างอิง

  1. http://legal.sru.ac.th/wp-content/uploads/sites/4/2017/01/How-to-set-ail-16.01.2560.pdf
  2. https://ptymc.coj.go.th/th/file/get/file/20191024d41d8cd98f00b204e9800998ecf8427e111515.pdf

ลิงค์ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

http://www.beerseelawyer.com/